About Us

Internet Security and Data Protection

ที่มาการพัฒนาซอฟต์แวร์ ARAK Internet Security


จากการเจริญเติบโตในยุคดิจิทัล ทำให้ผู้คนจำนวนมากมีการใช้งานอินเทอร์เน็ต จากข้อมูลสำนักงานสถิติแห่งชาติปี 2564 พบว่าประชากรในประเทศไทยกว่า 50 ล้านคน เข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ และกว่า 14 ล้านคน เป็นจำนวนเด็กและเยาวชนในประเทศไทย ที่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้เช่นกัน และด้วยภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ตมีอัตราส่วนที่เพิ่มสูงขึ้นตามจำนวนผู้ใช้งาน ไม่ว่าเป็นการถูกหลอกจากมิจฉาชีพในยุคดิจิทัล, การถูกกลั่นแกล้งในสื่อสังคมออนไลน์, การติดเชื้อไวรัสคอมพิวเตอร์ รวมถึงการเข้าแหล่งอบายมุขต่างๆ ที่สามารถเข้าผ่านอินเทอร์เน็ตได้ ไม่ว่าเป็นการเล่นการพนัน การซื้อขายสิ่งเสพติด และการเข้าถึงเว็บไซต์ลามกอนาจาร จริงอยู่ส่วนนี้หากเป็นผู้ใหญ่ที่มีวุฒิภาวะแล้วก็สามารถแยกแยะข้อมูลที่ได้รับจากการเข้าถึงโลกอินเทอร์เน็ตได้ แต่เด็กกว่า 14 ล้านคน ในประเทศไทย ยังขาดวุฒิภาวะและการแยกแยะในสิ่งที่รับรู้ได้ ซึ่งอาจจะทำให้ตนเองตกเข้าไปอยู่ในโลกแห่งอบายมุข เช่นการติดการพนันออนไลน์ การติดยาเสพติด และการเข้าถึงแหล่งข้อมูลลามกอนาจาร ได้เป็นต้น


ในปัจจุบันซอฟต์แวร์ในการคัดกรองเนื้อหาไม่เหมาะสมที่ทำมาเพื่อคัดกรองภาษาไทยนั้นยังไม่มี จะมีแต่เพียงซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์ที่เป็นการนำเข้าและพึ่งพาสินค้าซอฟต์แวร์ในต่างประเทศ จึงเป็นที่มาให้เกิดการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการคัดกรองเนื้อหาไม่เหมาะสมจากการใช้งานอินเทอร์เน็ต สำหรับทุกเพศทุกวัย ที่สามารถป้องกันภัยคุกคามที่เกิดขึ้น ไม่ว่าเป็น การติดเชื้อไวรัสจากการดาวน์โหลดไฟล์งานอินเทอร์เน็ต, การเข้าเว็บไซต์ไม่เหมาะสมจนติดเชื้อ, เว็บข้อมูลข่าวสารที่บิดเบือนจากความเป็นจริงของสังคม การให้ข้อมูลเท็จข่าวปลอม การตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพจากการคลิกลิงค์ที่แฝงอันตราย เหล่านี้ และรวมถึงการป้องกันและคัดกรองเนื้อหาไม่เหมาะสมทางอินเทอร์เน็ตสำหรับเด็กและเยาวชนไทยได้ เนื่องจากทีมพัฒนาเป็นคนไทยและนำการคัดกรองที่เน้นเนื้อหาที่เป็นภาษาไทย จึงเป็นจุดที่ซอฟต์แวร์ในต่างประเทศที่มีขายในท้องตลาดยังไม่ได้มาทำเรื่องนี้อย่างจริงจัง เป็นผลให้เกิดการสร้างสรรค์ผลงานนี้ขึ้นเพื่อยกระดับสินค้าซอฟต์แวร์ที่เกิดจากการผลิตขึ้นในประเทศไทยเพื่อสร้างโอกาสให้คนไทยได้มีการพัฒนาด้านซอฟต์แวร์ โดยไม่ได้พึ่งพาต่างประเทศเพียงอย่างเดียว รวมถึงเป็นการสร้างความยั่งยืนให้กับการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่มีความปลอดภัยให้เกิดขึ้นในประเทศไทย

นนทวัตต์ สาระมาน

Nontawatt Saraman

ติดต่อพวกเราได้ที่

สมาคมส่งเสริมนวัตกรรมเทคโนโลยีไซเบอร์ CIPAT

สามารถติดต่อบริษัทที่ดำเนินการให้บริการได้ที่ :


บริษัทโกลบอลเทคโนโลยี อินทิเกรเทด จำกัด
48/6 ซ.แจ้งวัฒนะ 14 ถ.แจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง หลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
โทร : 02 982 5454, 02 982 5445,02 982 5455, 02 984 3088


บริษัททูนาเบิล โปรเจค จำกัด
โทร : 094-179-8888 อีเมล์ : info at tunable.co